กรณีเพจเฟซบุ๊ก วันนี้ก้าวไกลโกหกอะไรเผยแพร่คลิปวิดีโอ อ้างว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกกองเชียร์ศิษย์เก่าโห่ไล่ภายในงานแข่งขันฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 อีกทั้งมีคนชูเสื้อเขียนข้อความว่า“อย่าเสือ… เรื่องแปรอักษรของพวกกู” นั้น
สืบเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ สส.ก้าวไกล ออกมาเคลื่อนไหวโดยระบุว่า มีศิษย์เก่าและนักเรียนโรงเรียนในเครือจตุรมิตร เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนว่ามีการบังคับให้ร่วมกิจกรรมแปรอักษร ซึ่งอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"พิธา" ถูกกองเชียร์ศิษย์เก่าโห่ไล่ กลางงานฟุตบอลจตุรมิตร ครั้งที่ 30
บุกรุกขึ้นแขวนป้าย ยกเลิกบังคับการแปรอักษร บอลจตุรมิตร
ขณะที่บางฝ่ายเห็นว่า การแปรอักษร เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ช่วยสร้างความสามัคคี สานสัมพันธ์เด็กนักเรียน อีกทั้งเป็นสมัครใจทำกิจกรรม ไมใช่การบังคับแต่อย่างใด
เพื่อทำความเข้าใจความคิดเห็นทั้ง 2 มุม PPTV พาไปย้อนฟัง 2 มุมจาก นายวิธาน พรหมสินธุศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ และ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล ที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านรายการ เข้มข่าวเย็น ไว้อย่างน่าสนใจ
นายวิธาน พรหมสินธุศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่เคยมีประเด็นขอให้เลิกบังคับแปรอักษร ในฐานะคนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจตุรมิตร เห็นขั้นตอนทุกกระบวนการ เห็นความทุ่มเทของอาจารย์ นักเรียน รวมถึงองคาพยพภายนอกโรงเรียน ยืนยันว่า ทั้ง 4 โรงเรียน เป็นโรงเรียนชั้นนำของประเทศ เชื่อว่าถ้าลูกถูกบังคับ ถูกกดดัน ผู้ปกครองเขาจะไม่ยอม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ตอบคำถามเรื่องนี้ได้ดีที่สุด
ยกตัวอย่างเทพศิรินทร์มีเด็กนักเรียนขึ้นกองเชียร์ ร่วมแปรอักษร 1,250 คน มีตัวสำรองอีก 300 กว่าคน ทั้ง 4 โรงเรียนก็น่าจะมีปริมาณเท่าๆ กัน เรามีการวางแผน วางระบบกันไว้ ปีนี้ให้เด็ก ม.2 – ม.4 ขึ้นแสตนเชียร์ ส่วนน้องเล็ก ม.1 ใครสมัครใจก็มาสมัครเป็นตัวสำรอง หรือใครสนใจอะไรก็ให้เลือกทำสิ่งนั้น เราให้เด็กเลือกเอง ไม่มีการบังคับ ส่วนกรณีที่กองเชียร์อยากเข้าห้องน้ำ เรามีตัวสำรองพร้อมสับเปลี่ยน เราทำงานกันเป็นระบบอยู่แล้ว
นายวิธาน กล่าวด้วยว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเราเลือกท่จะเชื่อกลุ่มบุคคล 1-2 คน แล้วเอามาเป็นดัชนีชี้วัด ก็คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย โรงเรียนเทพศิรินทร์เราอยู่แบบพี่น้อง ไม่มีการกดดัน รุ่นพี่อายุ 91 ปีเป็นคุณปู่ยังเดินทางมาเชียร์ วิธีการสกปรกที่ใช้การกดดันกันในโรงเรียน โรงเรียนถิ่นคนดี เราไม่ทำค หรือถ้าจะมีใครทำ มันก็เป็นพวกที่คิดแบบนี้ ถึงทำแบบนี้
ทั้ง 4 โรงเรียน มีการประเมินปัญหาอุปสรรคร่วมกัน เราทำงานกันอย่างหนัก เพื่อให้ทุกอย่างสมบูรณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ให้เหมาะสมกับที่ทุกคนรอคอย
ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีเด็กถูกบังคับหรือไม่ นายวิธาน กล่าวว่า โรงเรียนเป็นหน่วยงานที่พัฒนาให้คนเจริญงอกงาม จะมีหรือไม่มีใครบังคับ ก็คงเหมือนกับกรณีที่ไปถามว่า ใครไม่อยากเรียนหนังสือหรือไม่อยากทำกิจกรรมให้ยกมือขึ้น เชื่อว่าคนที่คิดก้าวหน้าหรือสร้างสรรค์ เขาไม่ตั้งคำถามเชิงลบอย่างนี้ เรื่องของสิทธิเสรีภาพ ทุกคนมี คือการไม่เอาเปรียบ ไม่เบียดบังคนอื่น แต่ทุกคนต้องมีหน้าที่ด้วย
เคยมีคำกล่าวว่าปริญญาทำให้คนมีงานทำ แต่กิจกรรมทำให้คนทำงานเป็น รู้หรือไม่ว่า กิจกรรมจตุรมิตรยิ่งใหญ่มากกว่าที่ใครหลายคนเห็น ช่วยฝึกเด็กให้รู้จักวางแผน คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหา รู้จักการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน รู้จักให้อภัยกัน เอื้ออารีต่อกัน รู้จักที่จะดำรงตนอยู่อย่างสง่างามบนสังคม อาจจะมีอะไรมากกว่าที่คิด หากมนุษย์มีแต่ความรู้ ขาดซึ่งความดี สังคมต่อไปจะป่วยพิการ แล้วก็ล้มลงได้
ขณะที่ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล มองว่า ถ้าไม่มีการบังคับ คงไม่มีการรณรงค์เกิดขึ้น ประเพณีและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำสืบเนื่องกันมา แต่ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงไม่ได้ ดังนั้นเห็นว่าสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ตามสถานการณ์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทีมงานของผม เป็นศิษย์เก่า 1 ในโรงเรียนกลุ่มจตุรมิตร บอกว่าเคยถูกบังคับเหมือนกัน ปวดปัสสาวะก็ต้องขับถ่ายใส่ขวด หากเราทำให้ไม่ต้องบังคับกันได้ ก็จะดีกับทุกฝ่าย
นายจิรัฏฐ์ กล่าวด้วยว่า มีข้อมูลว่า มีการบังคับโดยการกดดันทางสังคม แค่ไม่ซ้อมเชียร์ก็ถูกประณามแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการรณรงค์เรียกร้อง เราควรรับฟังเอาไว้ไม่ได้เสียหายตรงไหน เพราะคนเรียกร้องไม่ได้เงินหรือได้อะไรจากสิ่งนี้ เขาเรียกร้องเพื่อสิทธิมนุษยชนเท่านั้น
การที่โรงเรียนพยายามหาวิธีปกป้องให้นักเรียน ด้วยการให้สวมหมวก มีถุงแขน แต่มีคนออกมานั่งวิพากษ์วิจารณ์ บอกว่า อย่ามายุ่ง พวกเขาอาจเป็นคนที่นั่งฝั่งตรงข้าม นั่งฝั่งในร่มก็ได้ เรื่องนี้ควรถามไปที่นักเรียน ว่าจะเอาอย่างไรต่อ อยากให้เป็นแบบไหน รุ่นพี่ที่จบไปแล้วก็แค่ทำตามความเห็นหรือมตินักเรียนที่เรียนอยู่ เพราะเป็นกิจกรรมของเขา
ในฐานผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเสียงเล็กเสียงน้อย จะ 10 คนหรือ 20 คน ผมก็ต้องรับฟัง เพราะเป็นหน้าที่ของนักการเมือง
นายจิรัฏฐ์ กล่าวอีกว่า เราชอบเอาคำว่าสิทธิกับหน้าที่มารวมกัน เรื่องกิจกรรม ควรเป็นเรื่องอาสาสมัคร ไม่มีใครอยากใส่หมวก ใส่ถุงแขนไปนั่งตากแดด ถูกหรือไม่ ถ้าจะบอกว่าไม่มีการบังคับ คงจะเป็นไปไม่ได้ มันต้องมีการบังคับกันอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นคงไม่ออกมารณรงค์เรียกร้องกันอยู่แล้ว
ส่วนตัวไม่ได้คิดว่าการแปรอักษรเป็นปัญหา แต่ปัญหาคือการบังคับ ถ้าไม่บังคับกันได้ ก็เป็นเรื่องดีที่สุดเลย ส่วนการแปรอักษรก็ต้องถามหาความสมัครใจ ถ้าเขาไม่ยินดีที่จะทำ ก็ไม่ควรจะมาบังคับกันใช่หรือไม่
กิจกรรมแปรอักษรเป็นสิทธิ์ของโรงเรียน จะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีใครเข้าไปยุ่งได้อยู่แล้ว แต่การบังคับเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน